ขนมเปี๊ยะโฮมเมด ทำสดใหม่ทุกวัน ทำไปขายไปจ้า
ขนมเปี๊ยะโฮมเมด ทำสดใหม่ทุกวัน
ขนมเปี๊ยะอร่อย 12 ลูก คละรส
แป้งบาง แป้งโมจิ แป้งนุ่ม (Popular Chinese Pastry)
1 กล่อง มี 5 รส ถั่วไข่เค็ม/ เผือก/ ส้มไส้ถั่วกวน/ ชาเขียวไส้ถั่วแดง/ อัญชันไส้งาดำ
บรรจุ 500-700 กรัม ออเดอร์ขนมเปี๊ยะวันนี้ จัดส่งให้รอบที่เร็วที่สุดครับ
รับรองว่า ลูกค้าจะได้ทานขนมเปี๊ยะสดใหม่ อบใหม่ๆทุกวันครับ
มาลองชิมนะครับ ** เรามั่นใจในความอร่อย และพิถีพิถันใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนการผลิต
ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ ขนมเปี๊ยะเกรดพรีเมียม บ้านเราร่วมโครงการโอท็อป จ.สมุทรปราการด้วยนะครับ
ลูกค้าที่ได้ลองทานแล้วติดใจทุกคนเลยนร้า ลองเลยครับ
ขนมที่ใช้หัวใจทำเรื่องความอร่อยไม่ต้องห่วง
ขนมเปี๊ยะบ้านป.อ.ปลา รับรองความอร่อย ทานแล้วติดใจ ซื้อต่อแน่นอนจร้า ไม่เคยทำให้ใครผิดหวังนะจ้ะ
ทำบุญตักบาตร
สมัยที่ผมยังเป็นเด็กๆการทำบุญตักบาตรเป็นกิจวัตรประจำวันที่คนทั่วไปทำกันเป็นเรื่องปกติ เช้าขึ้นมาแทบทุกบ้านต้องทำบุญตักรบาตรเพื่อการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดี หนุ่มสาวและเด็กๆก็ทำสิ่งเหล่านี้ตามการปลูกฝังของผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นเรื่องที่ดีในสังคมไทย แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นกลับจางหายไป การทำบุญตักบาตรเป็นสิ่งที่ไม่ปกติสำหรับวันนั้น ส่วนมากจะเป็นวันเกิด หรือวันสำคัญทางศาสนา
ความเปลี่ยนแปลงไปอาจเกิดจากสถาวะปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทุกคนต้องแข่งกับเวลา ไปเรียน ไปทำงาน กิจกรรมต่างๆรออยู่ข้างหน้าจนทำแทบไม่ทัน ดังนั้นการทำบุญตักบาตรจึงถูกตัดออกจากการเป็นกิจวัตรประจำวันไป
สมัยก่อนพอเช้าขึ้นมาพระท่านจะเดินมาบิณฑบาตรผ่านหน้าบ้านให้คนทั่วไปได้ตักรบาตรกัน แต่ปัจจุบันถนนหนทางมีความยาวมากขึ้น การตัดถนนใหม่ๆ หมู่บ้านใหม่ๆผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ทำให้พระท่านเดินไปได้ไม่ทั่วถึง ด้วยเหตุและปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้คนไทยต้องห่างพระห่างวัดไปเรื่อยๆ
พูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาเพราไม่อยากให้คนไทยห่างวัดครับ ถ้าพอมีเวลาก็ไปทำบุญตักบาตรกันนะครับ เพื่อความเป็นศิริมงคลกับตัวเราเองและเป็นการช่วยทำนุบำรุงศาสนาพุทธของเรา และฝากไว้ด้วยนะครับสำหรับ "ขนมเปี๊ยะโฮมเมด" ของเรา ท่านสามารถนำไปทำบุญตักบาตร พระท่านจะได้เก็บไว้ฉันกับน้ำชากาแฟได้ครับ
วันพระ
พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดในวันพระ
"วันพระ" วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
วันธรรมะสวนะความเป็นมา
แต่ว่า ข้าแแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนศาสนาพุทธของเราทั้งหลายย่อมมีวันกำหนดนัดหมายเพื่อประชุมกันหามิได้ ดังนี้." อันอันพระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสงฆ์สาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ หรือว่า วันขึ้น14 ค่ำ หรือว่า วันขึ้น 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม
ทางด้านศาสนพิธีของชาวบ้านนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้กำหนดให้มีพีธีต่างๆ มีการร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร จังหัน หวานคาวแด่พระภิกษุสงฆ์ และก็สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ตามลำดับ
ความสำคัญ
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนพระสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ
2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น